ความดันในผู้สูงอายุ เป็นปัญหาที่หลายครอบครัวจำเป็นต้องให้ความสำคัญมาก เพราะเมื่อคนเรามีอายุมากขึ้น ปัญหาสุขภาพต่างๆ จะเริ่มเกิดขึ้นได้บ่อยในผู้สูงอายุ และความรุนแรงของปัญหาเหล่านั้นก็มีแนวโน้มที่จะรุนแรงกว่ากลุ่มวัยหนุ่มสาว ความดันผู้สูงอายุจึงไม่ใช่แค่ตัวเลขในหน้ากระดาษ แต่มันเป็นสัญญาณเตือนที่อาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่นๆ หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม ในบทความนี้ SaiJai.co จะพาไปทำความเข้าใจกับความผิดปกติของความดันผู้สูงอายุ วิธีการป้องกัน และข้อควรระวังที่ควรปฏิบัติเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาวของผู้สูงอายุกัน
ความดันผู้สูงอายุ แตกต่างจากคนหนุ่มสาวอย่างไร?
ความดันผู้สูงอายุนั้นมีความแตกต่างจากกลุ่มคนหนุ่มสาวอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในเรื่องความยืดหยุ่นของหลอดเลือดและการตอบสนองของร่างกาย เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ หลอดเลือดจะเริ่มแข็งตัวและเสื่อมสภาพไปตามกาลเวลา ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงานของหลอดเลือด ทำให้ความดันผู้สูงอายุมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่คนหนุ่มสาวมักมีหลอดเลือดที่ยืดหยุ่นและปรับตัวกับสิ่งเร้าต่างๆ ได้ดีกว่า ทำให้การเปลี่ยนแปลงของระดับความดันในคนหนุ่มสาวมีน้อย
นอกจากนี้ ยังมีผลมาจากปัจจัยเสี่ยงในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุร่วมด้วย เช่น การเคลื่อนไหวร่างกาย การรับประทานอาหาร พฤติกรรมในการใช้ชีวิตอื่นๆ หรือสภาพแวดล้อมความเป็นอยู่ ก็ล้วนส่งผลแตกต่างกันในสองกลุ่มอายุนี้ ทำให้ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุจำเป็นต้องตรวจเช็กระดับความดันอยู่เสมอ โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วมด้วย เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที
ความดันปกติเท่าไหร่ ผู้สูงอายุต่างกันแค่ไหน?
ความดันผู้สูงอายุ ปกติจะไม่ค่อยแตกต่างกับคนกลุ่มวัยอื่นๆ เท่าใดนัก แต่จะต้องให้ความสำคัญกับการระวังโรคแทรกซ้อนหรืออาการฉับพลันอื่นๆ ที่แฝงมากับระดับความดันผู้สูงอายุที่ผันผวนมาก โดยอ้างอิงจากสมาคมโรคหัวใจแห่งสหรัฐอเมริกา (American Heart Association) ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับระดับความดันผู้สูงอายุปกติและไม่ปกติเอาไว้ตามตัวเลขดังนี้
ความดันผู้สูงอายุ เท่าไหร่ถึงจะผิดปกติ?
จะเห็นได้ว่าตัวเลขระดับความดันผู้สูงอายุนั้นไม่ได้มีความแตกต่างและจะมีเกณฑ์เหมือนกับกลุ่มวัยอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม ความดันโลหิตในผู้สูงอายุที่สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานเพียงเล็กน้อยอาจไม่ได้ถือว่าผิดปกติในบางกรณี เนื่องจากสภาวะของร่างกายที่แตกต่างกันกับคนหนุ่มสาว แต่หากความดันผู้สูงอายุสูงเกินกว่า 140/90 มิลลิเมตรปรอท (mmHg) ควรระมัดระวังอาการอื่นๆ เพราะอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ แนะนำให้หมั่นตรวจร่างกายเป็นประจำ และปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิตให้เหมาะสม
แต่หากความดันผู้สูงอายุสูงเกิน 150/90 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป อาจเป็นอันตรายร้ายแรงได้ แนะนำให้รีบเข้าพบแพทย์ทันที เนื่องจากความดันที่สูงมากเกินไปกว่านี้อาจเป็นปัจจัยเสี่ยงที่นำไปสู่ปัญหาสุขภาพอื่นๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง หัวใจวาย หรือโรคร้ายแรงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นเฉียบพลัน อันจะทำให้ผู้สูงอายุเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความดันโลหิตในผู้สูงอายุ
ความดันผู้สูงอายุที่สูงเกินไปเป็นปัญหาสุขภาพที่เจอได้บ่อยครั้งในผู้สูงอายุ เกิดจากหลายปัจจัยที่มักมากับอายุที่เพิ่มขึ้นและการใช้ชีวิตประจำวันที่อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการมีความดันสูง ยกตัวอย่างปัจจัยเบื้องต้นที่มีผลต่อความดันโลหิตของผู้สูงอายุ เช่น
- หลอดเลือดแข็งตามอายุที่เพิ่มขึ้น
ยิ่งอายุมากขึ้น หลอดเลือดก็จะยิ่งแข็งขึ้น ทำให้มันขยายตัวได้ไม่ดีเหมือนเดิม เลยทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นตามไปด้วย เนื่องจากหลอดเลือดไม่สามารถยืดหยุ่นได้อย่างเต็มที่ มักเกิดขึ้นได้กับผู้สูงอายุทุกๆ สภาวะร่างกาย แม้จะจัดอยู่ในกลุ่มคนที่มีสุขภาพหัวใจดีก็ตาม
- น้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน
เมื่อเราน้ำหนักเกินมากๆ หรือกำลังเป็นโรคอ้วน จะยิ่งมีแนวโน้มเสี่ยงต่อการเป็นความดันสูง โดยเฉพาะความดันผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักเกิน ซึ่งเกิดจากไขมันในช่องท้องเกาะอยู่ตามอวัยวะส่วนต่างๆ มากเข้าจนไปรบกวนการทำงานของอวัยวะเหล่านั้น และร่างกายต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อกำจัดของเหลวส่วนเกินออกจากเลือด ทำให้ความดันในหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น หัวใจทำงานหนัก เสี่ยงต่อโรคอื่นๆ ด้วย
- ไตทำงานได้น้อยลง
เมื่อไตทำงานได้น้อยลงหรือผู้สูงอายุเป็นโรคเกี่ยวกับการเสื่อมสภาพของไต ก็จะมีผลต่อระดับความดันโลหิตเช่นกัน เมื่อไตไม่สามารถขับของเสียออกมาได้ตามปกติ ก็จะทำให้ของเสียยังคงปะปนอยู่กับระบบเลือด ทำให้เสี่ยงอันตรายต่ออวัยวะต่างๆ จนอาจทำให้เกิดภาวะไตวายได้ ทั้งนี้ คนที่เป็นโรคไตอาจนำไปสู่การเป็นความดันสูง และคนเป็นความดันสูงก็เสี่ยงเป็นไตวายได้ด้วยเช่นกัน เพราะความดันผู้สูงอายุที่มากเกินไปอาจทำให้หลอดเลือดภายในไตเสียหายได้
- ทานอาหารที่มีโซเดียมสูงบ่อยครั้ง
การกินอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น อาหารแปรรูป อาหารรสจัด เค็มจัด จะไปกระตุ้นให้ร่างกายกักเก็บน้ำไว้มากขึ้น ทำให้ภายในหลอดเลือดสะสมของเหลวมากกว่าปกติ อันก่อให้เกิดความดันสูงในผู้สูงอายุได้ นอกจากนี้ การทานอาหารโซเดียมสูงเป็นประจำอาจนำไปสู่การเกิดโรคไต ซึ่งเกี่ยวข้องกับระดับความดันผู้สูงอายุที่เพิ่มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน
- ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่เป็นประจำ
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะส่งผลต่อความยืดหยุ่นของหลอดเลือด โดยจะเข้าไปทำให้หลอดเลือดเกิดการหดตัว จึงทำให้ความดันผู้สูงอายุมีระดับสูงขึ้น ยิ่งถ้าดื่มเป็นประจำและอายุมากแล้ว จะยิ่งทำให้เสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูง ส่วนการสูบบุหรี่เป็นประจำจะทำให้ผนังหลอดเลือดถูกทำลาย หลอดเลือดแข็งตัว และทำให้ไขมันสะสมในหลอดเลือดมากขึ้นจนกลายเป็นความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุที่สูบบุหรี่
- ขาดการออกกำลังกาย
ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวลำบาก เพราะด้วยสภาพร่างกายที่เสื่อมลงไปตามกาลเวลา ทำให้มีแนวโน้มจะใช้ชีวิตแบบมีพฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary Lifestyle) คือการอยู่เฉย นั่งๆ นอนๆ ไม่ได้เคลื่อนไหวมากเท่าเมื่อก่อน บางกลุ่มขาดการออกกำลังกายเป็นประจำ ทำให้ร่างกายไม่ได้มีการเผาผลาญ หลอดเลือดไม่แข็งแรงยืดหยุ่น การไหลเวียนเลือดไม่ดีเนื่องจากมีการสะสมน้ำตาลและไขมันในเลือด ทำให้เสี่ยงต่อการเป็นความดันผู้สูงอายุ
- มีความเครียดสะสม
เป็นที่ทราบกันดีว่าเมื่อร่างกายเกิดความเครียด จะทำให้ระดับความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้นระยะหนึ่งเป็นปกติ และจะสามารถหายได้เองเมื่อคลายเครียดแล้ว แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ไม่ได้แปลว่าเราควรจะปล่อยให้ตัวเองอยู่ในภาวะเครียดบ่อยๆ เพราะหากร่างกายเครียดมากๆ หรือเครียดสะสมและความดันพุ่งสูงขึ้น อาจจะนำไปสู่ภาวะหัวใจวายหรือหลอดเลือดในสมองเสียหายได้เช่นกัน
- เป็นกรรมพันธุ์
หากคนในครอบครัวของเรามีประวัติเป็นความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว ลูกหลานก็จะมีความเสี่ยงเป็นความดันโลหิตสูงเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในครอบครัวที่มีรูปแบบการใช้ชีวิตที่กระตุ้นให้เกิดความดันสูง หลอดเลือดถูกทำลาย หรืออื่นๆ ที่ส่งผลต่อการทำงานของหลอดเลือด หัวใจ และไต
- อยู่ระหว่างใช้ยาบางชนิด
สำหรับกลุ่มคนที่มีโรคประจำตัวต้องทานยาประจำหรือกลุ่มคนที่ต้องทานยาบางประเภท ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ความดันสูงได้ ยกตัวอย่างเช่น ยาลดความอ้วน, ยาแก้คัดจมูก, สเตียรอยด์, ยาต้านอักเสบ, ยาขยายหลอดลม, พาราเซตามอล, กลุ่มยายับยั้งการสร้างหลอดเลือดเลี้ยงเซลล์มะเร็ง, ยาแก้ปวดไมเกรน, ยากดภูมิ หรือสมุนไพรและสารอาหารชนิดต่างๆ เช่น คาเฟอีน, โยฮิมไบน์, ชะเอมเทศ, นิโคติน หรืออีเฟดรา (รวมไปถึงสารเสพติดตัวอื่นอีกหลายชนิด) เป็นต้น
- มีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน
กรณีนี้จะคล้ายกับกลุ่มผู้สูงอายุที่ต้องใช้ยาบางชนิด การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนนั้นก็เช่นเดียวกัน เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นก็จะทำให้ความสมดุลของฮอร์โมนต่างๆ เปลี่ยนแปลงไป หรือผู้สูงอายุบางกลุ่มอาจจะต้องทานยาเพื่อปรับฮอร์โมนก็มีส่วน ยกตัวอย่างฮอร์โมนที่ส่งผลต่อระดับความดันโลหิต เช่น อีริโทรโพอิติน, เอสโตรเจน, เทสโทสเตอโรน หรือเกิดจากฮอร์โมนเปลี่ยนแปลงจากการความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ เป็นต้น
ผู้สูงอายุที่มีภาวะความดันโลหิตสูง อันตรายยังไง?
ภาวะความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุถือว่าเป็นเรื่องที่ครอบครัวจะต้องให้ความสนใจอย่างมาก เนื่องจากมันสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรงหลายอย่าง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษาหรือควบคุมอย่างเหมาะสม ก็อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดได้ โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่ร่างกายไม่ได้สุขภาพแข็งแรงเหมือนวัยหนุ่มสาว ดังนั้น การเข้าใจถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากความดันผู้สูงอายุจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ที่อาจตามมา ยกตัวอย่างเช่น
- เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูงทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันในผู้สูงอายุได้
- เสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมอง เมื่อความดันโลหิตสูงมากๆ หลอดเลือดในสมองอาจเกิดการตีบตันหรือแตกออก ทำให้เกิดภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต อัมพาตครึ่งซีก หรือร้ายแรงกว่าคือเสียชีวิตได้
- ทำลายไต ความดันโลหิตสูงเรื้อรังทำให้ไตไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะไตวายได้ในระยะยาว ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุแย่ลงมาก
- เสี่ยงเกิดหลอดเลือดแดงโป่งพอง ความดันโลหิตสูงทำให้ผนังหลอดเลือดบางและอ่อนแอลง ส่งผลให้เกิดการโป่งพองของหลอดเลือด ซึ่งเป็นภาวะที่อันตรายมากหากหลอดเลือดแตกออก
- เสี่ยงทำให้การมองเห็นลดลง ความดันสูงสามารถทำลายหลอดเลือดเล็กๆ ในดวงตา ส่งผลให้การมองเห็นแย่ลงหรือถึงขั้นตาบอดได้
การรักษาและควบคุมความดันโลหิตในผู้สูงอายุ
การรักษาและควบคุมความดันผู้สูงอายุเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนร้ายแรง เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง หรือปัญหาเกี่ยวกับไต วิธีการรักษาและควบคุมความดันผู้สูงอายุปกติมักจะมีทั้งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันและการใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์ เพื่อให้สามารถควบคุมระดับความดันให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อสุขภาพ ยกตัวอย่างเช่น
- ลดน้ำหนัก โดยเฉพาะกับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักเกิน จะต้องรักษาน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่แพทย์กำหนด จะสามารถช่วยลดความดันโลหิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ จะช่วยให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น ช่วยควบคุมน้ำตาลและไขมันในเลือด แนะนำให้เลือกทานอาหารที่มีกากใย วิตามินและแร่ธาตุสูง เลี่ยงอาหารแปรรูปและอาหารรสจัด เพราะจะทำให้โซเดียมในร่างกายสูงได้
- ลดหรืองดแอลกอฮอล์และบุหรี่ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ดื่มและสูบเป็นประจำ จะต้องหาวิธีหยุดเพื่อให้หลอดเลือดไม่เสี่ยงต่อการถูกทำลาย
- ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพราะกลุ่มผู้สูงอายุมักจะเคลื่อนไหวน้อย ทำให้หลอดเลือดไม่แข็งแรง แนะนำให้ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมอื่นๆ ที่ต้องเคลื่อนไหวเป็นประจำ ช่วยพัฒนาความแข็งแรงของหลอดเลือดได้ดี
- รักษาหรือควบคุมด้วยยาลดความดันโลหิต จะเกิดขึ้นเฉพาะกับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีหรือเสี่ยงมีความดันสูง โดยจะต้องจ่ายยาโดยแพทย์เท่านั้น ห้ามซื้อมาทานเอง
- พักผ่อนและคลายเครียดเสมอ เพราะความเครียดเป็นตัวการหนึ่งที่มีผลต่อระดับความดันผู้สูงอายุ ปกติหากต้องอยู่ในสถานการณ์ที่มีความเครียดสูง แนะนำให้หากิจกรรมอื่นๆ เพื่อผ่อนคลายตัวเองบ้าง และต้องพักผ่อนให้เพียงพอเพื่อให้ร่างกายไม่เหนื่อยล้าและสามารถทำงานได้อย่างเต็มที่
นอกจากการรักษาและควบคุมความดันโลหิตข้างต้นแล้ว แนะนำให้ครอบครัวพาผู้สูงอายุไปตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี เพื่อให้สามารถทราบสภาวะอื่นๆ ของร่างกายที่อาจส่งผลต่อความดันผู้สูงอายุ เช่น ค่าน้ำตาลในเลือด ค่าไขมันในเลือด หรือค่าไต หากแพทย์พบความผิดปกติเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งสามารถหาวิธีป้องกัน รักษา หรือควบคุมได้รวดเร็วเท่านั้น!
สรุป
ความดันผู้สูงอายุ เป็นปัจจัยสำคัญในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ แม้ระดับความดันผู้สูงอายุจะไม่ได้แตกต่างจากกลุ่มคนวัยหนุ่มสาว แต่ก็ต้องมีการควบคุมอย่างเคร่งครัด โดยระดับความดันผู้สูงอายุปกติควรอยู่ที่ 120/90 mmHg แต่จะต้องไม่สูงเกิน 140/90 mmHg เพราะประสิทธิภาพของหลอดเลือดในผู้สูงอายุจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่ออายุมากขึ้น
สำหรับกลุ่มผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มความดันสูง สามารถปรับปรุงได้ด้วยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต เช่น การรับประทานอาหารที่ดี ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม จะเป็นตัวช่วยควบคุมให้ความดันผู้สูงอายุปกติอย่างต่อเนื่องได้ นอกจากนี้ การพบแพทย์และใช้ยาตามคำสั่งอย่างเคร่งครัดก็จำเป็น แต่สำหรับครอบครัวที่มีผู้สูงอายุเสี่ยงความดันโลหิตสูง แต่ไม่รู้ว่าจะดูแลผู้สูงอายุอย่างไรดี หากต้องการการดูแลพิเศษ SaiJai.co เรามีเครือข่ายบ้านพักผู้สูงอายุที่มีบุคลากรทางการแพทย์คอยติดตามควบคุมความดันโลหิตอย่างใกล้ชิด รับรองคุณภาพชีวิตที่ดีในวัยเกษียณของท่านได้แน่นอน!
แหล่งอ้างอิง
- ความดันโลหิตปกติ ผู้สูงอายุ เท่าไหร่ มาเช็กกัน – Thonburi Health Village
- https://allwellhealthcare.com/normal-blood-pressure-range/
- https://www.aplaceformom.com/caregiver-resources/articles/blood-pressure-by-age
- https://www.nia.nih.gov/health/high-blood-pressure/high-blood-pressure-and-older-adults
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/is-high-blood-pressure-in-older-age-normal#other-risk-factors
- https://www.webmd.com/healthy-aging/what-to-know-about-new-normal-blood-pressure-for-older-adults
- https://medlineplus.gov/ency/article/000155.htm