เมื่อผู้สูงอายุได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย เชื่อว่าหลายท่านคงมีความกังวลใจเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและการใช้ชีวิตจนกลายเป็นความเครียด วิตกกังวล ซึ่งนั่นอาจยิ่งทำให้อาการมีความรุนแรงมากขึ้น เพราะโรคมะเร็งเป็นโรคที่มาพร้อมความเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในร่างกาย และเกิดได้จากหลายสาเหตุ ทั้งนี้เมื่อได้รับการวินิจฉัยก็อย่าเพิ่งกังวลมากกินไป เพราะโรคนี้หากได้รับการดูแลประคับประคองอย่างเข้าใจก็สามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้เช่นกัน วันนี้เราเลยมีเนื้อหาเกี่ยวกับสัญญาณเตือนมะเร็งระยะสุดท้าย และวิธีดูแลผู้ป่วยมาบอกกัน
โรคมะเร็งเกิดได้จากอะไร มีกี่ระยะ
โรคมะเร็งเกิดขึ้นจากการเจริญเติบโต และมีการแบ่งตัวของเซลล์ที่ผิดปกติเกิดขึ้นภายในร่างกาย โดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมและยับยั้งการเจริญเติบโตได้ ซึ่งสาเหตุเป็นได้จากหลายปัจจัย เช่น การได้รับสารก่อมะเร็งเป็นเวลานาน การติดเชื้อ การกลายพันธุ์ทางพันธุกรรม และการใช้ชีวิตที่ขาดการดูแลสุขภาพ ซึ่งมะเร็งจะมีทั้งหมด 4 ระยะ โดยแพทย์จะวินิจฉัยจากการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งว่ามีขอบเขต หรือแพร่กระจายไปสู่อวัยวะส่วนใดของร่างกายแล้วบ้าง ตามรายละเอียดต่อไปนี้
- ระยะที่ 1: ช่วงที่เซลล์มะเร็งยังมีขนาดเล็ก และยังไม่มีการกระจายไปส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
- ระยะที่ 2: ขนาดของเซลล์มะเร็งเริ่มใหญ่ขึ้น และอาจมีการแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง หรือส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย
- ระยะที่ 3: เริ่มมองเห็นเซลล์มะเร็งมีขนาดใหญ่ มีการแพร่กระจายไปหลายส่วนของ
ร่างกาย - ระยะที่ 4: เซลล์มะเร็งเริ่มแพร่กระจายไปทั่วบริเวณ และไปถึงส่วนสำคัญของร่างกาย เช่น ตับ ปอด กระดูก
5 สัญญาณเตือนมะเร็งระยะสุดท้าย
สำหรับมะเร็งระยะที่ 4 อยู่ได้นานแค่ไหนนั้น ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเอง และความเข้าใจของผู้ดูแลแบบประคับประคองร่วมด้วย ซึ่งผู้ป่วยบางรายยังคงใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปได้อีกหลายเดือน หรือหลายปี และเพื่อรู้ถึงโรคนี้ได้มากขึ้น ต่อไปนี้คือ 5 สัญญาณเตือนมะเร็งระยะสุดท้ายที่แสดงอาการให้เห็นได้บ่อยในผู้ป่วย
- เหนื่อยหอบง่าย ไม่มีเรี่ยวแรง และมีอาการอ่อนเพลียเมื่อทำกิจกรรมเพียงเล็กน้อย
- มีอาการเจ็บ หรือปวดในจุดที่มีเซลล์มะเร็งและมีความรุนแรงมากขึ้น
- นอนไม่หลับ
- วิงเวียน คลื่นไส้
- มีอาการหายใจที่ผิดปกติ
- เบื่ออาหาร ทานอาหารได้น้อย
- น้ำหนักลดลงอย่างรวดเร็ว
- กระสับกระส่าย เครียด วิตกกังวล บางรายอาจมีภาวะซึมเศร้า
มะเร็งระยะสุดท้ายมีอาการก่อนเสียชีวิตอย่างไร?
นอกจากอาการที่เป็นสัญญาณบอกมะเร็งระยะสุดท้ายแล้ว หากได้รับการวินิจฉัยและต้องดูแลรักษาในระยะประคับประคองผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอาจมีอาการก่อนเสียชีวิตที่แตกต่างกัน และอาจมีอาการเกิดขึ้นได้มากกว่า 1 อาการ โดยที่อาการก่อนเสียชีวิตที่พบบ่อยมีดังนี้
- อาการเจ็บและปวดหลายส่วนของร่างกายและมีความรุนแรงมาก
- มีอาการปวดและบวมในส่วนที่เซลล์มะเร็งลุกลาม
- อ่อนเพลียขั้นรุนแรงไม่สามารถทำอะไรด้วยตัวเองได้
- อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนแปลงฉับพลัน
- ความผิดปกติของระบบประสาท
- หน้ามืด หายใจลำบาก
- มีไข้ขึ้นสูง
- เจ็บคอ จุกเสียด
- บางรายอาจมีภาวะหมดสติ
- หัวใจหยุดเต้น
ทั้งนี้มะเร็งระยะสุดท้ายมีอาการก่อนเสียชีวิตที่อาจเกิดขึ้นได้มากกว่าตามที่กล่าวมา โดยขึ้นอยู่กับประเภทของมะเร็งด้วย และผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่เกิดขึ้นน้อยมากขึ้นอยู่กับสภาพร่างและจิตใจของตัวผู้ป่วยด้วย
ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ดูแลตัวเองอย่างไร?
แม้ว่าจะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้าย ผู้ป่วยไม่ควรรีบกังวลหรือเครียดมากเกินไป เพราะไม่มีใครการันตีได้ 100% ว่ามะเร็งระยะที่ 4 อยู่ได้นานแค่ไหน อีกทั้งผู้ป่วยบางรายยังสามารถใช้ชีวิตต่อไปได้อีกหลายปี สิ่งสำคัญคือการดูแลตัวเอง และปรับความคิดเพื่อสร้างสภาพจิตใจที่แข็งแรงให้มากที่สุด โดยผู้ป่วยสามารถดูแลตัวเองได้ด้วยวิธีต่อไปนี้
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
การนอนหลับเป็นวิธีฟื้นฟูร่างกายที่ดีที่สุด เพื่อจัดการกับอาการที่เกิดขึ้น ทั้งความเจ็บปวด อ่อนเพลีย และความกังวล หากนอนหลับได้มากเพียงพอจะช่วยให้ร่างกายได้รับการฟื้นฟู ทั้งนี้อาจเลือกปรับเปลี่ยนสถานที่ในการนอนให้มีสภาพแวดล้อมที่เงียบสงบ ผ่อนคลาย เพื่อให้นอนหลับได้อย่างเต็มที่
- ทานอาหารที่มีประโยชน์
อาหารเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยเพิ่มพลังงาน และเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน แม้ว่าผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอาจมีข้อจำกัดในการทานอาหารอยู่บ้าง แต่ก็ต้องให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ด้วย โดยปรึกษาแพทย์หรือผู้ดูแลในการจัดการด้านโภชนาการ
- ฝึกสมาธิสร้างความผ่อนคลาย
การอยู่กับตัวเอง ทำสมาธิ และฝึกหายใจเข้า-ออกอย่างให้เป็นระบบ เหยียดยืดกล้ามเนื้อ วิธีเหล่านี้จะช่วยลดความเครียด และส่งเสริมให้ร่างกายผ่อนคลายได้มากขึ้น
- รักษาสุขอนามัยอยู่เสมอ
เมื่อร่างกายมีความเจ็บป่วย สิ่งสำคัญคือการรักษาความสะอาดของร่างกายให้ดี เช่น การอาบน้ำ สระผม แปรงฟัน เปลี่ยนเสื้อผ้า สิ่งเหล่านี้ไม่เพียงช่วยให้ร่างกายได้รับการดูแล แต่ยังส่งผลต่อความรู้สึกที่ดีทางใจอีกด้วย
- ทำกิจกรรมสร้างความสุข
หากเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมได้ให้ลองเปิดใจและเข้าร่วมกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมความสุข เป็นประโยชน์กับสุขภาพจิต หรือเลือกใช้วิธีทำงานอดิเรก เช่น วาดภาพ ถ่ายรูป เขียนนิยาย กิจกรรมเหล่านี้ช่วยปรับสภาพจิตใจและส่งเสริมให้มีอารมณ์ที่ดีขึ้น
การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง
นอกจากผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่ต้องดูแลตัวเองเพิ่มมากขึ้น ผู้ดูแลหรือคนในครอบครัวเองก็ต้องมีวิธีดูแลอย่างเข้าใจเช่นเดียวกัน ซึ่งเป็นรูปแบบการดูแลผู้ป่วยแบบประคับประคอง โดยมุ่งเน้นเรื่องการบรรเทาความเจ็บปวด ป้องกันภาวะแทรกซ้อน และส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งร่างกายและจิตใจให้กับผู้ป่วยมากที่สุด การดูแลแบบประคับประคองสามารถทำได้กับมะเร็งทุกระยะ สิ่งสำคัญคือผู้ป่วยและครอบครัวต้องมีส่วนร่วมต่อการตัดสินใจกับทีมแพทย์เพื่อวางแผนรักษาในทิศทางเดียวกัน
- การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่บ้าน
ผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายหลายคนเลือกที่จะใช้เวลากับคนในครอบครัวให้มากที่สุด ทำให้การดูแลผู้ป่วยจากที่บ้านเป็นเรื่องสำคัญ โดยครอบครัวต้องเตรียมความพร้อมในเรื่องของสถานที่ สภาพแวดล้อม อุปกรณ์ที่จำเป็นต้องใช้สำหรับดูแลผู้ป่วย และสิ่งสำคัญคือต้องเข้าใจในเรื่องของอาการ ความต้องการของผู้ป่วย ซึ่งต้องมีการปรึกษากับทางทีมแพทย์ผู้ดูแลอยู่เสมอ รวมทั้งส่งเสริมเรื่องสุขภาพกายและใจให้กับผู้ป่วยให้มากที่สุด
- การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่โรงพยาบาล
สำหรับบางครอบครัวที่ไม่สะดวกเรื่องเวลาและสถานที่ สามารถเลือกให้ทางโรงพยาบาลเป็นผู้ดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายได้ ซึ่งมีความแตกต่างกันตรงที่ผู้ดูแลมีความรู้และเข้าใจ มีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่พร้อมต่อการช่วยเหลือผู้ป่วย แม้ว่าจะช่วยคลายกังวลของผู้ป่วยและครอบครัวไปได้บ้าง แต่อาจมีผลต่อเรื่องของสภาพจิตใจของผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายอยู่บ้าง เพราะอาจะรู้สึกโดดเดี่ยว และไม่ได้ใกล้ชิดครอบครัว ดังนั้นจึงต้องแบ่งเวลาในการเข้าเยี่ยมผู้ป่วยอยู่เสมอ
- การดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ
นอกเหนือจากการดูแลผู้ป่วยมะเร็งระยะสุดท้ายที่บ้านและที่โรงพยาบาลแล้ว ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ หรือบ้านพักคนวัยเกษียณ ก็เป็นอีกหนึ่งสถานที่สำหรับผู้ป่วยที่สามารถใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตร มีอุปกรณ์ในการช่วยเหลือและดูแลที่ครบครัน รวมทั้งยังมีสังคมของผู้สูงอายุเพื่อสร้างความผ่อนคลายในการร่วมกันทำกิจกรรมด้านต่าง ๆ ช่วยให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกโดดเดี่ยว ที่สำคัญที่สุดคือมีทีมแพทย์และพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการดูแลผู้สูงอายุคอยดูแลได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทำให้เป็นอีกทางเลือกสำหรับการดูแลแบบประคับประคองที่ช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกเหมือนได้อยู่บ้าน
สรุป มะเร็งระยะสุดท้าย โรคร้ายที่รับมือและมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้
นับว่ามะเร็งระยะสุดท้ายเป็นอีกหนึ่งโรคร้ายที่ไม่มีใครอยากเป็น แต่เมื่อสิ่งต่างๆ เกิดขึ้นแล้ว ก็ต้องเตรียมพร้อมต่อการรับมือ ซึ่งการเข้าใจถึงวิธีรับมือกับความเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกายและจิตใจคือสิ่งสำคัญสำหรับผู้ป่วยและครอบครัว เพราะแม้จะได้ชื่อว่าเป็นมะเร็งระยะสุดท้าย แต่ก็ไม่สามารถกำหนดวันสุดท้ายของชีวิตผู้ป่วยได้ ขอเพียงแค่มีกำลังใจที่ดี ไม่ยอมแพ้หรือวิตกกังวลจนเกินไป ฝึกจิตใจให้ยอมรับกับสิ่งที่จะต้องเกิด และสร้างความสุขให้ได้มากที่สุด ไม่ว่าจะเจ็บป่วยด้วยโรคใดก็รับมือได้แน่นอน
สำหรับท่านที่กำลังมองหาบ้านพักสำหรับคนวัยเกษียณ หรือศูนย์ดูแลผู้สูงอายุที่พร้อมให้บริการได้ตลอด 24 ชม. ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีกิจกรรมที่เหมาะกับผู้สูงวัยและสังคมที่เป็นมิตร สามารถเลือกค้นหาให้ตรงกับความต้องการได้ที่ Saijai.co เพราะที่ใส่ใจเราได้รวบรวมศูนย์ดูแลผู้สูงวัย และบริการดูแลผู้สูงอายุที่หลากหลายมาไว้ให้ที่นี่แล้ว พร้อมคลังความรู้ ข้อมูลด้านสุขภาพ และเรื่องราวของผู้สูงอายุมาไว้ให้ครบครัน เพราะทุกความต้องการของคุณ คือทุกเหตุผลที่เราใส่ใจ