ไตเป็นอวัยวะที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่กรองของเสียออกจากร่างกาย และช่วยความคุมเรื่องความดันโลหิต เมื่ออายุมากขึ้นการทำงานของไตย่อมเสื่อมสภาพลงไปบ้างเป็นเรื่องธรรมดา แต่เพื่อลดความเสี่ยงของโรคไต ผู้สูงอายุต้องให้ความสำคัญกับการดูแลไตมากเป็นพิเศษ โดยเฉพาะการเลือกรับประทานอาหารบำรุงไตสำหรับผู้สูงอายุจะช่วยป้องกันความเจ็บป่วยเกี่ยวกับไตได้
เพื่อให้ครอบครัวที่ดูแลผู้สูงอายุ และตัวผู้สูงวัยเองได้ตระหนักถึงความรุนแรงและอันตรายจากโรคไต วันนี้ SaiJai.co มีสาระดีๆ เกี่ยวกับข้อมูลสุขภาพในการบำรุงและดูแลไต พร้อมทั้งคำแนะนำที่ช่วยลดความเสี่ยงจากโรคไตมาบอกกัน
หน้าที่และความสำคัญของไต
ไตคือหนึ่งในอวัยวะภายในที่มีความสำคัญต่อร่างกายเป็นอย่างมาก ซึ่งหน้าที่หลักของไตคือการขับของเสียออกจากร่างกายโดยใช้วิธีผลิตปัสสาวะในปริมาณที่มีส่วนประกอบจากของเสียที่มีปริมาตรอย่างเหมาะสม ซึ่งวิธีนี้ยังช่วยรักษาสมดุลของระดับน้ำกับแร่ธาตุในร่างกายด้วย โดยหน้าที่เหล่านี้จะเกิดขึ้นจากการทำงานของหน่วยไตเท่านั้น ในด้านของการสร้างเม็ดเลือดแดงไตก็ยังเป็นอวัยวะสำคัญที่ช่วยสร้างฮอร์โมนอีริโทรพอยอิทิน ทำให้เกิดการหลังเอนไซม์เรนินช่วยในการควบคุมเรื่องความดันโลหิตได้ ซึ่งนี่เป็นเพียงหน้าที่บางส่วนเท่านั้นที่บอกว่าทำไมเราถึงควรให้ความสำคัญกับการดูแลไต
ถ้าไตขาดการดูแล จะเป็นอย่างไร?
ในช่วงแรกการทำงานของไตอาจไม่เป็นปกติ จนส่งผลให้เห็น เช่น ปัสสาวะผิดปกติ มีอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย ปวดหลังหรือบั้นเอวข้างใดข้างหนึ่ง หน้าบวม ตัวบวม และเมื่อขาดการดูแลไตเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดภาวะไตวายเรื้อรังซึ่งเป็นปัญหาสุขภาพที่มีความรุนแรงของโรคสูง และรักษาได้ยาก วิธีที่ดีที่สุดคือบำรุงไตตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งการบำรุงและดูแลไตที่ดีที่สุดคือการเลือกทานอาหารบำรุงไต โดยเฉพาะในผู้สูงอายุ ที่ยิ่งต้องระวังการเจ็บป่วยด้วยโรคไต หรือผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวอยู่แล้วยิ่งต้องดูแลไตมากเป็นพิเศษ ดังนั้นการใส่ใจเรื่องอาหารการกินจึงเป็นสิ่งสำคัญ
วิธีดูแลไตให้แข็งแรง
เพื่อให้ไตมีความแข็งแรงและทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ การดูแลไตให้แข็งแรงเป็นเรื่องที่สามารถทำได้ด้วยตัวเองจากในชีวิตประจำวัน ด้วยวิธีต่อไปนี้
1. เลือกทานอาหารที่ไม่ทำให้ไตทำงานหนัก
การทานอาหารบางชนิดมีผลต่อการทำงานของไต ยิ่งเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูงยิ่งมีความเสี่ยงต่อสุขภาพไตได้ โดยวิธีเลือกอาหารบำรุงไตสำหรับผู้สูงอายุ มีดังนี้
- ทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม ไม่มากจนเกินไป
- ลดการบริโภคอาหารที่มีความเค็มมันสูง โดยโซเดียมไม่ควรเกิน 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน
- เพิ่มการบริโภคผักและผลไม้ ที่มีวิตามินและแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เช่น กระเทียม หัวหอม ปลาทะเล และผักใบเขียว
- เลี่ยงการทานอาหารแปรรูป เพราะเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูง
2. ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม
การดื่มน้ำเป็นวิธีดูแลและช่วยบำรุงไตที่ยอดเยี่ยม เพราะน้ำจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของไตให้ขับของเสียออกจากร่างกายได้ดียิ่งขึ้น โดยนอกจากอาหารบำรุงไตในผู้สูงอายุจะสำคัญแล้ว การดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว จะช่วยลดการทำงานหนักของไตได้ เนื่องจากเลือดจะไม่ข้นหนืด ซึ่งวิธีการดื่มน้ำที่แนะนำสามารถทำได้หลากหลายวิธี ดังนี้
- ลดการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน น้ำอัดลม หรือน้ำผลไม้ในปริมาณมาก และควรทดแทนด้วยการดื่มน้ำเปล่าแทน
- ให้ดื่มน้ำตามปริมาณที่เหมาะต่อร่างกายเป็นประจำทุกวัน แม้ว่าอาจจะไม่ได้รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม
- รับประทานอาหารที่มีส่วนประกอบของน้ำได้บ้าง เช่น ผลไม้ หรือซุป แต่ควรระวังเรื่องส่วนผสม และปริมาณที่ไม่มากจนเกินไป
- หากปัสสาวะมีสีเหลืองเข้ม เป็นสัญญาณของภาวะขาดน้ำ ควรดื่มน้ำชดเชยให้กับร่างกาย
3. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม และสม่ำเสมอ
การออกกำลังกายเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการมีสุขภาพดี ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุก็จำเป็นต้องออกกำลังกายเช่นเดียวกัน ซึ่งวิธีออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุควรเป็นการออกกำลังกายที่ไม่หนักจนเกินไป และการออกกำลังกายควรทำอย่างสม่ำเสมอ เพื่อควบคุมความดันโลหิต น้ำหนักตัว และเป็นวิธีดูแลไตที่ดีที่สุด โดยวิธีออกกำลังกายที่เหมาะกับผู้สูงอายุที่แนะนำ คือ
- เดินเร็ว โดยเริ่มจากการเดินก้าวสั้นๆ อย่างช้าๆ แล้วค่อยๆ เพิ่มความเร็วในระดับที่ไม่เหนื่อยจนเกินไป แต่ควรเดินเร็วอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 30 นาทีขึ้นไป
- ว่ายน้ำ ไม่น้อยกว่า 30 นาที ควรว่ายช้าๆ และมีช่วงพักบ้าง
- โยคะหรือไทเก๊ก เป็นการออกกำลังกายที่ช่วยสร้างความยืดหยุ่นให้ร่างกาย และไม่ทำให้เกิดอาการบาดเจ็บ
- ปั่นจักรยาน ในระดับความเร็วที่เหมาะสมไม่เร็วเกินไป และปั่นต่อเนื่องเป็นเวลา 30 นาที
4. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ
การตรวจสุขภาพไม่เพียงแค่ช่วยให้ทราบถึงปัญหาสุขภาพ หรือความเจ็บป่วยของโรคภัยเท่านั้น แต่ยังเป็นวิธีดูแลไตอีกด้วย เพราะการตรวจไตหรือการทำงานของไต จะช่วยให้ทราบถึงความผิดปกติของไตได้ตั้งแต่เนิ่นๆ หากเป็นผู้สูงอายุที่ไม่มีโรงประจำตัว ควรให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงต่อไปนี้
- ผู้ที่เคยมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคไต
- ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
- ผู้ที่มีภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน หรือตรวจค่า BMI ได้ตั้งแต่ 30 ขึ้นไป
- ผู้มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ
5. ความคุมโรคประจำตัว
โรคไตนั้นมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ดังนั้นผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัวต้องให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพเพื่อลดอาการของโรคประจำตัว รวมทั้งไม่ทำให้อาการของโรคมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย โดยสามารถปฏิบัติด้วยตัวเองเบื้องต้นได้ ดังนี้
- รับประทานยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด
- ตรวจวัดระดับความดันโลหิต หรือระดับน้ำตาลในเลือดอย่างสม่ำเสมอ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงของอาการที่เกิดขึ้นจากโรคประจำตัว
6. หลีกเลี่ยงการซื้อยาทานเอง
อาการไตวาย หรือโรคไตในบางคนมีผลมาจากพฤติกรรมที่ชอบซื้อยามารับประทานเอง โดยปราศจากคำแนะนำจากแพทย์ ซึ่งการดูแลไตที่ดีคือการไม่เพิ่มภาระให้ไตทำงานหนัก อีกทั้งผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือยาสมุนไพรรักษาโรคก็ไม่ควรซื้อมาทานเองและทานเป็นกิจวัตรประจำวัน เพราะยิ่งมีการสะสมในร่างกายมาก ไตจะทำงานหนักและเสื่อมได้เร็วยิ่งขึ้น โดยกลุ่มยาที่มีผลเสียต่อการทำงานของไตโดยตรง คือ
- ยาแก้อักเสบในกลุ่ม NSAIDs
- ยาแก้ปวด
- อาหารเสริม หรือยาสมุนไพร
7. งดสูบบุหรี่ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
บุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คือภัยร้ายต่อร่างกาย ยิ่งมีการสะสมในร่างกายเป็นเวลานาน และเป็นจำนวนมาก ยิ่งทำให้ความดันโลหิตเพิ่มสูงขึ้น และเป็นหนึ่งในสิ่งที่ทำให้ไตต้องทำงานหนัก โดยเฉพาะบุหรี่นั้นประกอบไปด้วยนิโคตินและคาเฟอีนสูง หรือแม้แต่การดื่มแอลกอฮอล์ครั้งละมากๆ เป็นประจำก็ทำให้เกิดการสลายตัวของกล้ามเนื้อ และเสี่ยงต่อการเกิดไตวายเฉียบพลันได้
สรุปโรคไตอันตรายกว่าที่คิด แต่พิชิตได้แค่ใส่ใจดูแลไต
ไตคืออวัยวะสำคัญที่ต้องดูแลโดยเฉพาะผู้สูงอายุยิ่งต้องใส่ใจเรื่องการเลือกรับประทานอาหารบำรุงไตอยู่เสมอ เพราะเป็นวิธีดูแลไตที่สามารถทำได้เอง และง่ายที่สุด นอกจากนี้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อการทำงานของไตด้วยก็จะช่วยให้ไตแข็งแรง ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพจะช่วยลดความเสี่ยงของการเจ็บป่วยด้วยโรคไต ดังนั้นการตรวจไตตรวจสุขภาพประจำปี ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ก็จะช่วยหมีสุขภาพร่างกายที่พร้อมต่อสู้กับความเจ็บป่วยได้อย่างแน่นอน
สำหรับครอบครัวที่ดูแลผู้สูงอายุ หรือผู้สูงอายุในวัยหลังเกษียณ ที่กำลังมองหาศูนย์ดูแลผู้สูงวัย บ้านพักคนชรา เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างเข้าใจตลอด 24 ชม. เราได้รวบรวมบ้านพักหลังเกษียณจากทำเลต่างๆ มาให้ค้นหาได้ด้วยปลายนิ้ว พร้อมรีวิวจากผู้ที่เคยใช้บริการจริง หรือผู้ที่สนใจเรื่องราวสุขภาพ และการดูแลตัวเองในวัยเกษียณ ก็สามารถเลือกอ่านบทความสาระน่ารู้แบบนี้ได้อีกมากมายที่ SaiJai.co