หลักการและความหมายของการรักษาตามอาการ
หลักการของวิธีรักษาแบบจำเพาะ หรือ Symptomatic คือ การรักษาตามอาการที่ผู้ป่วยเผชิญ เป็นพื้นฐานที่สำคัญของการรักษาโรควิธีหนึ่ง ทำให้อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยบรรเทาลงได้ เช่น การรักษาอาการเจ็บหรือปวด การบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน หรือการรักษาอาการไข้ แต่การรักษาตามอาการนั้นจะไม่ใช่การรักษาจากต้นเหตุโดยตรง แต่จะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น สามารถกลับมาใช้ชีวิตได้ใกล้เคียงกับปกติมากขึ้น ซึ่งบางโรคหากต้องการหายขาดอาจต้องมาจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วยร่วมด้วยการรักษาตามอาการมีอะไรบ้าง?
การรักษาตามอาการนั้นเป็นการรักษาที่แพทย์จะเลือกให้ยาปฏิชีวนะแก่ผู้ป่วย โดยประเมินจากอาการที่ผู้ป่วยเป็นอยู่ ทำให้ผู้ป่วยแต่ละคนมีความเป็นไปได้ที่จะได้รับยารักษาที่แตกต่างกันไปตามอาการหรือภาวะทางร่างกาย ทั้งนี้อาจแบ่งการรักษาตามอาการได้จากโรค ดังนี้1. ไข้หวัด
อาการของไข้หวัดส่วนใหญ่แล้วจะมาพร้อมไข้เล็กน้อย มีน้ำมูก ไอ และปวดเมื่อยตามตัว ซึ่งเป็นอาการหลักที่มักจะเกิดขึ้นบ่อยที่สุดของโรคนี้ ดังนั้น เมื่อแพทย์พิจารณาแล้วว่าคนไข้มาด้วยอาการปวดศีรษะ เป็นไข้ มีน้ำมูก ไอ แพทย์ก็จะจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการเบื้องต้น เช่น ยาแก้ปวดลดไข้ ยาแก้แพ้ลดน้ำมูก ยาแก้ไอ
2. ท้องเสีย
เมื่อมีอาการถ่ายเหลว ปวดท้อง คลื่นไส้ ซึ่งเป็นอาการที่ท้องเสียที่มาจากการรับประทานอาหาร เบื้องต้นแพทย์ต้องทำการรักษาแบบจำเพาะเพื่อให้ผู้ป่วยหายจากอาการท้องเสียโดยเร็วที่สุด เพราะเป็นภาวะที่ผู้ป่วยสูญเสียน้ำในร่างกายเป็นจำนวนมาก ดังนั้นยาที่ช่วยบรรเทาอาการในกลุ่มนี้ที่แพทย์จะจ่ายให้เบื้องต้น เช่น เกลือแร่ (ORS) ยาในกลุ่มโลเพอราไมด์ หรือโลเพอราไมด์
3. อาการแพ้
ภาวะที่เกิดขึ้นกับร่างกายทำให้ผู้ป่วยรู้สึก คัน จาม มีน้ำมูก หรือมีผื่นเกิดขึ้นตามตัว ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมาจากการแพ้อากาศ หรือแพ้อาหาร หากแพทย์พิจารณาจากอาการแล้วพบว่าไม่มีความรุนแรงมาก สามารถรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการได้ แพทย์จะพิจารณายารักษาอาการเบื้องต้น เช่น ยาทาแก้คันเฉพาะจุด ยาแก้แพ้
4. อาการปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
สำหรับอาการปวดศีรษะและปวดเมื่อยกล้ามเนื้อนั้นเป็นภาวะที่เกิดขึ้นโดยที่ผู้ป่วยอาจมีอาการไข้ร่วมด้วย ซึ่งเบื้องต้นการบรรเทาอาการปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นจะช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ โดยส่วนใหญ่แล้วแพทย์จะพิจารณาให้ยาเบื้องต้น เช่น ยาแก้ปวด และยาลดการอักเสบ การนวดประคบร้อนหรือเย็น กายภาพบำบัดด้วยวิธีเหยียดยืดกล้ามเนื้อ
อย่างไรก็ตามการรักษาตามอาการอาจมีความแตกต่างกันไปตามการวินิจฉัยของแพทย์ รวมถึงความแตกต่างของโรคและภาวะที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยแต่ละคนด้วย แต่สิ่งที่เหมือนกันคือจุดประสงค์ในการรักษาที่เพื่อให้ผู้ป่วยได้คลายจากความกังวลใจ และอาการความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้มากที่สุดนั่นเองข้อดีของการรักษาตามอาการ
การรักษาแบบจำเพาะนั้นเป็นวิธีที่ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาจากอาการที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะในผู้สูงอายุที่เมื่อมีความเจ็บป่วยเกิดขึ้นแล้วอาการเหล่านั้นอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตที่ยากลำบาก รวมถึงความเสี่ยงที่จะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ที่อาจทวีความรุนแรงมากขึ้นได้ ทำให้ Symptomatic Treatment คือวิธีที่ช่วยเติมเต็มคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้สูงอายุได้ ทั้งนี้ข้อดีของแนวทางการรักษาตามอาการสามารถสรุปได้ ดังนี้- บรรเทาอาการจากภาวะความเจ็บป่วย
- ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น
- ฟื้นฟูสุขภาพจิต ลดและคลายความกังวลให้กับผู้ป่วย
- ผู้ป่วยสามารถกลับไปใช้ชีวิตที่ใกล้เคียงกับปกติได้มากที่สุด
- ได้รับการรักษาบรรเทาอย่างทันท่วงที
- ป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากโรค
- ลดความเสี่ยงจากการใช้ยาที่มากเกินจำเป็น
ข้อควรระวังของการรักษาตามอาการ
แม้ว่าการรักษาแบบจำเพาะ หรือ Symptomatic Treatment คือทางเลือกที่ดีและมีส่วนช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยได้อย่างที่กล่าวมาก็ตาม แต่หากสังเกตดูแนวทางการรักษาของแพทย์ด้วยวิธีนี้ จะเห็นได้ว่าแพทย์จะมีการจำกัดจำนวนการกินยา และระยะเวลาที่ต้องการรักษาตามอาการเอาไว้ให้เห็นอยู่เสมอ ซึ่งก็เป็นเพราะสาเหตุต่อไปนี้- ไม่ได้เป็นการรักษาที่ต้นเหตุจริงๆ ของโรค แต่เป็นการบรรเทาอาการเท่านั้น ซึ่งบางโรคต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วย
- อาจเข้าไปบดบังอาการที่สำคัญของโรคจริงๆ เพราะหลายครั้งเมื่อผู้ป่วยหายจากอาการที่เป็นอยู่ก็ไม่ได้ติดตามผลตรวจในด้านอื่นๆ ต่อซึ่งอาจเป็นข้อบ่งชี้ถึงอาการของโรคร้ายแรงได้
- ความเสี่ยงจากการใช้ยาที่ผิดประเภท ผู้ป่วยบางคนเลือกที่จะซื้อยาทานเอง ทำให้เสี่ยงต่อการใช้ยาผิดจนเกิดผลข้างเคียงได้
- พึ่งพาการใช้ยามากเกินไป จนทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่าการติดยาได้
- ผู้ป่วยบางคนเมื่อหายจากอาการเบื้องต้นที่เป็นแล้ว เข้าใจว่าหายแล้วจึงละเลยการตรวจวินิจฉัยที่จำเป็นในขั้นตอนอื่นๆ ต่อไป
เป้าหมายและวิธีการรักษาแบบตามอาการ
การรักษาตามอาการ Symptomatic Treatment นั้นมีเป้าหมายเพื่อบรรเทาอาการที่ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไม่สุขไม่สบาย และการรักษาตามอาการนั้นไม่ใช่วิธีที่นำไปใช้กับผู้ป่วยที่อยู่ในระยะประคับประคอง หรือผู้ป่วยระยะสุดท้ายเท่านั้น แต่เป็นการดูแลในภาพรวมที่สามารถใช้เป็นหลักปฏิบัติได้กับทั้งผู้ป่วยในกลุ่มที่เพิ่งเริ่มเผชิญกับโรคที่เริ่มมีการคุกคามต่อชีวิต และมีความเสี่ยงที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตผู้ป่วยได้ในอนาคต การดูแลแบบตามอาการจึงเป็นวิธีที่ช่วยป้องกันและบรรเทาความทุกข์ทรมานให้กับผู้ป่วยได้ ที่สำคัญที่สุดคือการได้ดูแลทางด้านจิตใจและจิตวิญญาณเพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกพร้อมรับมือกับความเจ็บป่วยได้มากที่สุด การรักษาตามอาการจึงไม่ได้สามารถทำได้เพียงแค่ในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่ในบางกรณีก็สามารถให้ผู้ป่วยรับประทานยา หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต และการทานอาหารเพิ่มเติม เพื่อช่วยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้เช่นเดียวกันความเจ็บป่วยในผู้สูงอายุแบบไหนบ้างที่ควรได้รับการดูแลตามอาการ
การรักษาตามอาการส่วนใหญ่แล้วจะเกิดขึ้นกับความเจ็บป่วยในโรคทั่วไปได้มากกว่า แต่ในกลุ่มผู้สูงอายุแล้ว นอกจากความเจ็บป่วยด้วยโรคทั่วไปแล้ว แพทย์ยังเลือกใช้การรักษาแบบจำเพาะได้กับผู้สูงวัยที่เจ็บป่วยด้วยกลุ่มโรคต่อไปนี้- ผู้ป่วยโรคมะเร็ง : ผู้ป่วยในกลุ่มโรคมะเร็งนั้นนอกจากจะได้ต้องดูแลด้วยวิธีแบบประคับประคองแล้ว ยังมีบางส่วนที่ต้องได้รับการรักษาตามอาการเพิ่มเติมด้วย เพราะผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการแทรกซ้อนได้ง่าย เช่น หอบเหนื่อย อาการปวดตามกล้ามเนื้อ ภาวะเครียด คลื่นไส้ หรือโรคแทรกซ้อนอื่นๆ
- ผู้ป่วยสมองเสื่อมหรือกลุ่มเปราะบาง : ผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อม หรือมีความเสี่ยงเกี่ยวกับเส้นเลือดสมองตีบ และผู้ป่วยกลุ่มเปราะบางที่มีภาวะติดเตียงช่วยเหลือตัวเองลำบาก ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนได้ และจำเป็นต้องได้รับการรักษาตามอาการเพิ่มเติมด้วย
- ผู้ป่วยอวัยวะล้มเหลว : สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้ เช่น ผู้ป่วยโรคตับแข็ง ผู้ป่วยโรคไตวายระยะสุดท้าย กลุ่มผู้ป่วยกลุ่มนี้มีความเสี่ยงมากที่จะได้ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอื่นๆ ได้ง่าย ทำให้การรักษาตามอาการจะช่วยบรรเทาอาการความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นได้